จำนวน 45 รายการ

คั่วฟักเขียว

หมวดคั่ว
คั่วฟักเขียว เป็นอาหารเฉพาะถิ่นของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีส่วนประกอบ คือ ฟักเขียว เนื้อหมู พริกแห้ง กะปิ ถั่วลิสง เกลือ กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ ข่า

คั่วเห็ดถอบ

หมวดคั่ว
คั่วเห็ดถอบ เห็ดถอบ หมายถึงเห็ดเผาะ เป็นคำเรียกชื่ออาหารที่ได้จากป่า เป็นเห้ดที่มีความกรอบและรสชาติดี จึงเรียกว่า เห็ดถอบ มีหลายสูตรแตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่น สำหรับสูตรของลำพูนมีส่วนประกอบ คือ เห็ดถอบ หมูสับ ยอดมะขามอ่อน ยอดมะพร้าวอ่อน ผักชีฝรั่ง

จื๋น

หมวดจื๋น
จื๋น หมายถึง การสกัดน้ำมันด้วยความร้อน ในการทำอาหาร สิ่งที่สามารถจื๋นได้ คือ มันแพหรือมันเปลวของหมู หรือ หมูสามชั้น ที่ต้องการให้สุกกรอบ จะต้องจื๋นน้ำมันออกไป ให้หมูสุกกรอบ ทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ในสมัยก่อนนิยมใช้น้ำมันจากหมูในการทำอาหาร ดังนั้น แม่บ้านจึงมัก จื๋นน้ำมันจากมันเปลวหมูเก็บไว้สำหรับจ่าวหรือคั่วอาหารให้มีรสชาติอร่อยยิ่งขึ้น อาหารที่อาจจัดอยู่ในหมวดของการจื๋น อาจได้แก่ แคบหมู หนังปอง เป็นต้น เพราะทำจากหนังหมูติดมัน นำมาจื๋นน้ำมันออกจนหนังพองกรอบ

ตำจิ๊นแห้ง

หมวดตำ
จิ๊นแห้ง คือ เนื้อวัวหรือเนื้อควายตากแห้ง เป็นอาหารประเภทยำ ที่นำเอาส่วนผสมที่เป็นของที่สุกแล้วลงไปผสมกับเครื่องปรุง จะใช้พริกแกงธรรมดา หรือเครื่องปรุงสำหรับลาบ มาใช้เป็นเครื่องปรุงก็ได้ ส่วนผสมคือ จิ๊นแห้ง ใบมะกรูด ต้นหอม ผักชี ผักชีฝรั่ง น้ำมันสำหรับผัด เครื่องแกงมีพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ เกลือ ข่า ตะไคร้

ตำบ่าถั่ว

หมวดตำ
ตำบ่าถั่ว เป็นคำเรียกชื่ออาหารประเภทตำอีกอย่างหนึ่ง โดยนำถั่วฝักยาวสดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และนำไปโขลก มีเครื่องปรุงคือ พริกสดเผา กระเทียมเผา หอมแดงเผา กะปิหรือปลาร้าห่อใบตองหมกไฟจนมีกลิ่นหอม ตำบ่าถั่วอาจใส่แคบหมู หรือปลาแห้งย่างสุกก็ได้ โดยแกะเอาแต่เนื้อปลามาโขลกรวมกับเครื่องปรุง หากใส่แคบหมูก็โขลกรวมกับเครื่องปรุงจนละเอียด แล้วนำถั่วฝักยาวที่หั่นเตรียมไว้มาโขลกรวมกับเครื่องปรุงและแคบหมูหรือปลาแห้ง โขลกพอแหลกเข้ากันดี เติมน้ำปลาเล็กน้อย ตักใส่จาน หากชอบความกรอบและเปรี้ยวเล็กน้อยให้บีบมะนาวลงไป แต่บางคนไม่ชอบรสเปรี้ยวก็ไม่บีบมะนาวก็ได้ รับประทานแนมกับผักสด เช่น ยอดกระถิน ผักกาดอ่อน ฯลฯ

ตำส้ม (บ่าก้วยเต้ด/ มะละกอ)

หมวดตำ
ตำส้ม เป็นคำเรียกชื่ออาหารล้านนาที่หมายถึง ส้มตำ นั่นเอง โดยใช้มะละกอเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งภาษาล้านนาเรียกว่า “บ่าก้วยเต้ด” วิธีทำส้มตำสูตรดั้งเดิมของล้านนาแท้ๆ จะใช้พริกขี้หนูสวนสดๆ โขลกกับกระเทียม ปลาร้าสด บางแห่งใส่น้ำปู ใส่มะขามอ่อน แต่ไม่ใส่มะเขือเทศ กุ้งแห้ง และน้ำตาลปี๊บ การปรุงรส มักใช้มะนาว มะขามเปียก หรือ บางสูตรที่ชอบรสเปรี้ยวแหลมมักใช้มะกรูดปอกเปลือกแล้วผ่าเป็นชิ้นๆ ลงโขลกในเครื่องปรุง ซึ่งสูตรนี้ต้องใส่น้ำปูเพื่อให้รสชาติอร่อยเข้ากัน (สูตรของจังหวัดลำปาง) ตำส้มของล้านนามักเน้นรสจัด คือ เผ็ด เค็ม เปรี้ยว และมักรับประทานเป็นกับข้าวในมื้อกลางวันหรือช่วงบ่าย ในยามแดดร้อนจัดๆ เป็นวิธีการเพิ่มวิตามินซี แคลเซียม และทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า

ต้มขม

หมวดต้ม
ต้มขม หมายถึง ต้มเครื่องในควาย หรือ หมูใส่เพลี้ย หรือ น้ำดี เพื่อให้มีรสขม

ต้มยำปลาน้ำโขง

หมวดต้ม
ต้มยำปลาน้ำโขง (ปลาแคร่ ปลากัง ปลาก่วง) ส่วนประกอบ ปลาน้ำโขง ข่า กระเทียม ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง พริกขี้หนูสด มะเขือเทศ มะนาว ผักส้มป่อย น้ำปลา วิธีทำ ตั้งน้ำเดือด ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ทุบหอมแดง กระเทียมใส่ลงไป รอน้ำเดือดใส่ปลาและมะเขือเทศลงไปไม่ต้องคน เพราะจะทำให้ปลามีกลิ่นคาว สุกแล้วปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลาหรือเกลือ โรยหน้าด้วยต้นหอมผักชี และใบแมงลัก

ต้มส้มไก่เมือง

หมวดต้ม
ต้มส้ม หมายถึง ต้มที่มีรสเปรี้ยว เป็นอาหารจานเด็ดอีกชนิดหนึ่งของล้านนา มักทำต้อนรับแขกคนสำคัญ หรือต้อนรับญาติผู้ใหญ่ที่มาเยี่ยมเยียน หรือ ทำรับประทานในงานเลี้ยงฉลอง และ งานบุญต่างๆ เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน ฯลฯ ส่วนไก่เมือง หมายถึง ไก่พันธุ์พื้นเมืองที่เลี้ยงไว้อย่างอิสระ หากินจิกพืชผักใบหญ้า หนอนและแมลงทั่วไป ทำให้ไก่เมืองมีรสชาติอร่อย ไม่มีไขมันมากเหมือนไก่ที่เลี้ยงในฟาร์ม

น้ำพริกกะปิ

หมวดน้ำพริก
เป็นน้ำพริกที่นิยมมากที่สุด รสเข้มข้น ไม่มีสูตรเฉพาะตัว ตามแต่จะปรุงรสกันไป มีส่วนผสม คือ พริกขี้หนูสวน กะปิ กุ้งแห้ง น้ำตาลปี๊บ น้ำมะนาว กระเทียม มะเขือเปราะ บ่าเขือปู่ (มะอึก)

น้ำพริกถั่วเน่าแข็บ

หมวดน้ำพริก
คำว่า แข็บ หมายถึง ลักษณะเป็นแผ่นแห้ง หรือ กรอบ เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้นเหนียว มีส่วนผสมหลักคือ พริกแห้ง ถั่วเน่าแข็บ (ถั่วเหลืองต้มเปื่อย ตากแห้งเป็นแผ่น) กระเทียม เกลือ มะนาว เครื่องเคียง ได้แก่ แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาด ผักสดอื่นตามชอบ

น้ำพริกน้ำอ้อย

หมวดน้ำพริก
ถือเป็นเครื่องจิ้มสำหรับผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะขาม มะปราง เป็นต้น บางทีอาจใช้เป็นน้ำจิ้มอาหารปิ้งย่าง ก็ได้ มีส่วนผสม คือ พริกแห้ง กระเทียม น้ำอ้อย ปลาร้า เกลือ

น้ำพริกปลาทู

หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม ปลาทูสด หรือปลาทูนึ่ง พริกชี้ฟ้า หอมแดง กระเทียม กะปิ น้ำปลา น้ำตาล มะนาว

น้ำพริกอี่เก๋

หมวดน้ำพริก
(อี่เก๋ เป็นชื่อเฉพาะน้ำพริกชนิดนี้ของถิ่นเหนือ ไม่มีความหมายโดยนัยเป็นอย่างอื่น) เป็นน้ำพริกที่มีน้ำขลุกขลิก ชนิดของพริกที่นิยมใช้คือ พริกขี้หนูแก่สีแดง หรือใช้พริกชี้ฟ้าสีแดงก็ได้ ส่วมผสม พริกขี้หนูสุก แคบหมู มะเขือขื่น กระเทียม กะปิ น้ำตาลทราย มะนาว รับประทานกับแตงกวา มะเขือเปราะ

น้ำพริกแคบหมู

หมวดน้ำพริก
ส่วนผสม แคบหมู พริกสด หอมแดง กระเทียม เกลือ ต้นหอม ผักชี เครื่องเคียง ได้แก่ แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กระถิน ผักกาด ผักสดอื่นตามชอบ ย่างพริก หอมแดง กระเทียม แล้วแกะเปลือกออก นำมาโขลกรวมกันกับแคบหมูและเกลือ ตักใส่ถ้วยคนให้เข้ากัน โรยหน้าด้วยต้นหอมผักชีซอย ควรย่างพริก หอมแดง กระเทียมด้วยถ่านไม้ จะทำให้มีกลิ่นหอมและรสชาติดี อีกสูตรหนึ่ง ใช้พริกขี้หนูสดเก็บจากสวน ล้างสะอาดแล้วเด็ดขั้วออก โขลกกับกระเทียม เกลือ กะปิสด หรือ กะปิเผา ใส่แคบหมูกรอบๆ โขลกละเอียดแล้ว ตักใส่ถ้วย บีบมะนาวตามชอบ รสชาติคล้ายน้ำพริกกะปิแต่มีความเข้มข้นหอมมัน ส่วนน้ำพริกแคบหมู

ลาบหมู

หมวดลาบ
วัตถุดิบ เนื้อหมู (เนื้อสันนอกหรือสันใน) เครื่องในหมู เช่น ตับ ไต (มะแกว หรือเซี่ยงจี้) ไส้หวาน หนังหมู กระเพาะ ม้าม มันคอ เลือดหมู (เลือดก้อน) เครื่องปรุงที่ใช้นำมาคั่วให้มีกลิ่นหอม ข่า ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง (หัวสีเหลือง) กะปิ (ห่อใบตองแล้วปิ้งให้พอหอม) เครื่องเทศที่ใช้แห้งมาคั่วให้พอมีกลิ่นหอมและป่นหรือโขลกตำให้ละเอียด

ส้ามะเขือ

หมวดส้า
ใช้ได้ทั้งมะเขือเปราะ และมะเขือขื่นที่แก่จัด ถ้าเป็นมะเขือเปราะจะต้องซอยแช่น้ำเกลือ หลังจากนั้นนำมาคลุกเคล้ากับเครื่องแกงที่ผัดกับหมูสับ ส่วนผสมคือ มะเขือเปราะ เนื้อหมูบด หอมแดงซอย กระเทียมสับ ผักชี ต้นหอม น้ำมันสำหรับผัด ส่วนมะเขือขื่นเมื่อซอยบางๆ แล้วนำไปโขลกเบา ๆ เพื่อคั้นน้ำที่มีรสขื่นออก ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วบีบมะนาวใส่พักไว้ให้กรอบ เครื่องแกงมีพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ ปล้าร้าต้มสุก

ส้ายวม

หมวดส้า
ส้ายวม คือ การนำยวมมาผสมคลุกเคล้ากับน้ำพริกที่มีปลาผสม เหมือนกับส้ายอดมะม่วง มีส่วนผสมคือ ฝักอ่อนยวม ปลาช่อน (ปลานิล ปลาทู) หอมแดง ตะไคร้ ผักชี ต้นหอม น้ำมะนาว เครื่องแกง มีพริกชี้ฟ้า หอมแดง กระเทียม กะปิ ปลาร้า

ส้ายอดมะม่ว

หมวดส้า
ส้ายอดมะม่วง หรือส้าผักม่วง เป็นส้าผักชนิดหนึ่ง บางสูตรใช้มะกอกสุก บีบหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หรือใช้มะเขือเทศ มะนาวปรุงรส บางสูตรนิยมใช้หอมแดงเจียวและกระเทียมเจียวโรยหน้ามีส่วนผสมคือ ยอดมะม่วง ปลาช่อน (ปลานิล ปลาทู) หอมแดง ตะไคร้ ผักชี ต้นหอม ปลาร้าต้มสุกเครื่องแกงมีพริกชี้ฟ้า หอมแดง กระเทียม กะปิ

หลามบอน

หมวดหลาม
หลามบอน หรือ แกงบอน บางท้องที่ เช่น อำเภอแม่แจ่ม หมายถึง แกงบอนที่เอาไปใส่กระบอกไม้ไผ่ดิบ แล้วนำไปย่างถ่านไม้ เหมือนข้าวหลาม ไม่ผัดเครื่องแกงกับน้ำมันพืช การเรียกแกงบอน บางคนถือเคล็ด ให้เรียกว่า แกงผักหวาน เพราะกลัวว่าจะทำให้คันปาก บางตำรับ ก่อนนำบอนมาแกง จะแขวนผึ่งลมไว้ ๑ คืน ก่อนที่จะนำมาแกง มีส่วนผสมคือ บอนต้นอ่อน หูหมู หรือใช้เท้าหมู (คากิ) น้ำมะขามเปียก ข่าหั่น ตะไคร้ กระเทียม ใบมะกรูด กระเทียมเจียว น้ำมันสำหรับเจียวและผัด มีเครื่องแกง คือ พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ตะไคร้ซอย กะปิ ปลาร้าต้มสุก เกลือ

หลู้เลือด

หมวดหลู้
นิยมใช้เฉพาะหมู วัตถุดิบ เนื้อหมู (เนื้อสันนอกหรือสันใน) เครื่องในหมู เช่น ตับ ไต (มะแกว หรือเซี่ยงจี้) ไส้หวาน หนังหมู มันแพร นำไปตากแดดให้แห้งกรอบ และหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เลือดหมู (เลือดก้อนและเลือดน้ำ) เครื่องปรุงที่ใช้นำมาทอดให้มีกลิ่นหอมและกรอบ ข่า ตะไคร้ ขิง กระเทียม หอมแดง (หัวสีเหลือง) เส้นหมี่ขาวมาทอดกรอบ หนังหมู หรือใช้แคบหมูแทนก็ได้เช่นกัน น้ำกระเทียมดอง และเนื้อกระเทียมดองสักหนึ่งหัว เพื่อให้รสชาติหวานหอม ใบมะนาวทอดกรอบ เครื่องเทศที่ใช้แห้งมาคั่วให้พอมีกลิ่นหอมและโขลกป่นหรือตำให้ละเอียด

ห่อนึ่งปลามง

หมวดนึ่ง
ห่อนึ่งปลามง มีเครื่องประกอบด้วย ปลามง ซึ่งเป็นปลาแม่น้ำโขง เป็นอาหารประจำถิ่นของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย พร้อมเครื่องในและไข่ปลา ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กระเทียม หอมแดง พริกแห้ง กะปิ เกลือ นำเครื่องปรุงทุกอย่างโขลกให้เข้ากันแล้วนำมาคลุกกับปลา เครื่องใน และไข่ไก่ให้ส่วนผสมเข้ากัน ซอยต้นหอม ผักชีใส่ แล้วนำไปห่อด้วยใบตอง นำไปนึ่งจนสุก

ห่อนึ่งไก

หมวดนึ่ง
ห่อนึ่งไก เป็นคำเรียกชื่ออาหารประจำถิ่นของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย หรืออีกแหล่งหนึ่งที่มีไก คือ จังหวัดน่าน ความจริงเป็นอาหารของชาวไทลื้อ ซึ่งอาศัยอยู่ทั้งที่อำเภอเชียงของและจังหวัดน่าน ไก เป็นสาหร่ายน้ำจืดที่ขึ้นในน้ำใสสะอาด น้ำนิ่ง ในจังหวัดน่านจะหาได้ที่ อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอท่าวังผา ส่วนแหล่งอื่นที่น้ำสกปรกจะไม่มีไกขึ้น ในปีหนึ่งอาจเก็บไกได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน- พฤษภาคม ชาวไทลื้อมักเก็บมาตากแห้ง หรือเก็บไกสดๆ มาทำห่อนึ่งก็ได้ โดยมีส่วนประกอบ คือ ไกแม่น้ำโขง หรือ ไกน้ำน่าน ที่ยังไม่ได้ตากแห้ง หมูบด พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ใบมะกรูด มีวิธีทำง่ายๆ คือ ล้างไกให้สะอาด นำหมูกับไกมารวนพอสุกแล้วคลุกเคล้ากับเครื่องแกงที่โขลกละเอียด จากนั้น นำมาห่อใบตองแล้วนึ่งประมาณ ๒๐ นาที พอสุกแล้วนำมารับประทานได้

ห่อนึ่งไก่

หมวดนึ่ง
ส่วนผสม เนื้อไก่บ้าน ข้าวคั่ว ใบมะกรูด ผักชีซอย ต้นหอมซอย ใบยอ ผักกาดเขียว หรือผักกาดขาว น้ำมันสำหรับผัด เครื่องแกง คือ พริกแห้ง ข่าหั่น ตะไคร้ซอย ขมิ้น หอมแดง กระเทียม กะปิ เกลือ

อุ๊กไก่

หมวดอุ๊ก
มีส่วนผสมคือเนื้อไก่บ้าน ใบมะกรูด ข่าหั่น ผักชีซอย ต้นหอมซอย ผักชีฝรั่งซอย น้ำมัน เครื่องแกงใช้พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิ ตะไคร้ซอย ข่าหั่น ขมิ้น เกลือ

อุ๊บเครื่องในหมู

หมวดอุ๊ก
ส่วนประกอบหลัก คือ ใช้เครื่องในหมู หรือตับ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง กระเทียม พริกแห้งเม็ดใหญ่ป่น มะเขือเทศ กะปิ เครื่องปรุงรส เกลือ ขมิ้น น้ำมันพืช

เจียวไก

หมวดเจี๋ยว
เจียวไก เป็นคำเรียกชื่ออาหารของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีส่วนประกอบคือ ไกน้ำโขง หมูบด เกลือ พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง ใบมะกรูดหั่นฝอย ข่าอ่อนสับละเอียด

เจี๋ยวผักปลัง

หมวดเจี๋ยว
เจี๋ยวผักปลัง ส่วนใหญ่มักใส่จิ๊นส้ม มีวิธีทำคล้ายแกงผักปลัง แต่แตกต่างกันเล็กน้อยที่การเจี๋ยวผักปลังจะไม่โขลกพริกแกง คือ นำกระทะตั้งไฟ ใส้น้ำเล็กน้อย หรือ ประมาณหนึ่งถ้วยแกงเล็กๆ บุบกระเทียม หอมแดง พริกขี้หนูสดหรือพริกหนุ่มพอแตกใส่ลงไปในน้ำเดือด ใส่กะปิเล็กน้อย คนให้เข้ากัน บางท้องถิ่นใส่ถั่วเน่าแข็บโขลกละเอียดลงไปให้มีกลิ่นหอม น้ำเดือด ใส่จิ๊นส้ม ใส่ผักปลังลงไป ปิดฝาให้ผักสุก เปิดฝาคนพลิกไปมา ใส่มะเขือเทศสีดาผ่าครึ่งสัก ๔-๕ ลูก ปิดฝาให้น้ำเดือด จากนั้นปรุงรสอีกครั้ง หากยังไม่เปรี้ยวให้เติมน้ำมะนาวเล็กน้อย คนแล้วยกลงตักรับประทานได้

แกงตูนใส่ปลา

หมวดแกง
แกงตูน มีผักที่เรียกว่า “ตูน” หรือ “ทูน” เป็นส่วนประกอบหลัก ตูนเป็นผักตระกูลเดียวกับ บอน แต่ไม่มียางที่ทำให้คันหรือเป็นพิษ เวลาแกงจะต้องปอกเปลือกที่เป็นเยื่อเหนียวทิ้งเสียก่อน จากนั้นใช้มือเด็ดตูนเป็นท่อนๆ หรือชิ้นขนาดเท่าพอคำ แกงตูนมักจะใส่เนื้อปลาดุกหรือปลาช่อนตัดเป็นชิ้น ๆ พอประมาณ ส่วนผสมของเครื่องแกงประกอบด้วย พริกหนุ่ม พริกขี้หนู กระเทียม ปลาร้า กะปิ ขมิ้น โดยมีเครื่องปรุงเป็นมะกรูดหรือมะนาว ให้มีรสชาติออกเปรี้ยว

แกงผักบุ้งใส่ปลา

หมวดแกง
แกงผักบุ้งใส่ปลา เป็นอาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน โดยเฉพาะน้ำแกงที่มีรสเปรี้ยวนำ หากได้ผักบุ้งนายอดเล็กๆ สีแดง ใส่ปลานาตามธรรมชาติด้วยจะยิ่งอร่อย

แกงฟักหม่นใส่ไก่

หมวดแกง
แกงฟักหม่นหรือฟักเขียวใส่ไก่ เป็นอาหารที่นิยมทำในงานบุญ หรืองานที่เป็นมงคล เพราะชื่อฟักมีความหมายแสดงถึงความฟูมฟัก คือฟูมฟักสิ่งดีๆ อาทิ ความรัก ความสมัครสมานสามัคคี ความมีน้ำใจร่วมไม้ร่วมมือช่วยเหลือกันของเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการสร้างบ้านเรือน สมัยโบราณมักจะใช้วิธีไหว้วานเพื่อนบ้านให้มาช่วยกันโดยไม่มีการจ้าง จึงมีการแกงฟักใส่ไก่เลี้ยงผู้มาช่วยงาน

แกงยอดต๋าว

หมวดแกง
มีส่วนประกอบคือ ยอดต๋าว เนื้อหมู น้ำพริกแกง ได้แก่ พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง เกลือ ข่า ตะไคร้ กะปิ

แกงสะแล

หมวดแกง
เป็นคำเรียกชื่ออาหารอีกชนิดหนึ่ง สะแลเป็นพืชไม้เลื้อย เครือเถาใหญ่ ใช้ส่วนของดอกมาทำแกง จึงเรียกว่า แกงสะแล โดยแกงใส่ซี่โครงหมู หรือ หมูสามชั้น ใส่มะขามเปียก หรือ มะเขือเทศลูกเล็กให้มีรสเปรี้ยวเล็กน้อยเพื่อกำจัดรสฝาดนิดๆ ของดอกสะแล

แกงส้มดอกแคใส่ปลา

หมวดแกง
ดอกแคสีขาวมีรสหวานอมขมนิด ๆ คนล้านนานิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะนำมาลวกจิ้มน้ำพริก ใส่แกงแค หรือนำมาทำแกงส้มก็อร่อยไปอีกแบบ

แกงส้มมะละกอ

หมวดแกง
มะละกอ เป็นได้ทั้งผลไม้และอาหารประเภทพืชผัก สามารถบริโภคขณะดิบได้ คือ นำไปทำส้มตำที่ทำทานกันทุกภาคของไทย แต่สูตรอาจแตกต่างกันไป การนำมะละกอดิบมาทำแกงส้มนี้คงต้องบันทึกไว้ เพราะคนปัจจุบันอาจไม่ค่อยได้ทำทานกัน ซึ่งคาดว่าในอนาคตอาจจะไม่มีใครรู้ว่า มะละกอก็สามารถนำมาทำแกงส้มได้แสนอร่อย ไม่แพ้แกงส้มผักอื่นๆ

แกงหางหวาย

หมวดแกง
มีส่วนประกอบ คือ หางหวาย เนื้อหมู พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง เกลือ ตะไคร้ กะปิ ใบมะกรูด ดอกข่า ดอกต้าง จะค่าน (สะค้าน) ชะอม ผักแค

แกงอ่อมปลา

หมวดอ่อม
ถือเป็นอาหารชั้นดีอีกชนิดหนึ่งของชาวล้านนา แตกต่างจากแกงอ่อมเนื้อสัตว์ชนิดอื่น คือปรุงรสด้วยน้ำมะนาว แต่ไม่นิยมทำเป็นอาหารเลี้ยงแขกในเทศกาลงานพิธีต่างๆ เหมือนแกงอ่อมเนื้อสัตว์อื่นๆ ส่วนผสมคือ ปลาช่อน ข่าอ่อนซอย ตะไคร้หั่น ใบมะกรูดฉีก มะนาว ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ ผักชี ต้นหอม น้ำมันสำหรับผัดเครื่องแกง โดยใช้พริกแห้ง พริกขี้หนูแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ข่าซอย ขมิ้น เกลือ กะปิหยาบ

แกงอ่อมหมู

หมวดอ่อม
นิยมใช้เนื้อหมูและเครื่องในหมูเป็นส่วนผสมหลัก บ้างใช้แต่เครื่องใน เรียก แกงอ่อมเครื่องในหมู มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงเนื้อสัตว์อื่นๆ นิยมใช้เลี้ยงแขกในเทศกาลงานเลี้ยงต่างๆ ส่วนผสมคือ เนื้อหมูและเครื่องในหมู ข่าอ่อนซอย ตะไคร้ซอย ใบมะกรูดฉีก รากผักชี ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ ผักชีซอย ต้นหอมซอย น้ำมันสำหรับผัดเครื่องแกง โดยใช้พริกแห้ง พริกขี้หนูแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ข่าซอย ขมิ้น เกลือ กะปิหยาบ

แกงอ่อมเนื้อ

หมวดอ่อม
นิยมใช้เนื้อวัวและเครื่องในวัว เป็นส่วนผสมหลัก บ้างใช้เนื้อควายและเครื่องในควายเป็นส่วนผสม บ้างใช้แต่เครื่องใน เรียกชื่อตามเนื้อที่นำมาแกง เช่น แกงอ่อมเครื่องในวัว แกงอ่อมเครื่องในหมู แกงอ่อมเครื่องในควาย มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงเนื้อสัตว์อื่นๆ ส่วนผสม เนื้อวัวและเครื่องในวัว น้ำเพลี้ย ข่าอ่อนซอย ตะไคร้ซอย ใบมะกรูดฉีก รากผักชี ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ ผักชีซอย ต้นหอมซอย น้ำมันสำหรับผัดเครื่องแกง โดยเครื่องแกงมีพริกแห้ง พริกขี้หนูแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ข่าซอย ขมิ้น เกลือ กะปิหยาบ

แกงอ่อมไก่

หมวดอ่อม
ส่วนผสม เนื้อไก่บ้าน ข่าอ่อนซอย ตะไคร้ซอย ใบมะกรูด รากผักชี ใบอ่อนเล็บครุฑ ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ ผักชี ต้นหอม น้ำมันสำหรับผัดเครื่องแกง เครื่องแกง พริกแห้ง พริกขี้หนูแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ข่าซอย ขมิ้น เกลือ กะปิหยาบ

แกงเหมือน

หมวดแกง
ล้านนาเรียก แกงอ่อมเนื้อชาโดว์ (เนื้อสุนัข) ใช้เนื้อสุนัข เป็นส่วนผสมหลัก

แกงเห็ดตับเต่า

หมวดแกง
หรือล้านนาเรียกเห็ดห้า เป็นแกงที่ใช้พริกแห้ง หรือพริกสดเป็นเครื่องปรุงก็ได้ และใส่ยอดเม่า หรือยอดมะขาม ก็ได้ แล้วแต่ชอบ มีรสชาติอร่อยทั้ง ๒ ตำรับ หรือว่าจะนำเห็ดตับเต่าแกงกับยอดฟักทอง แล้วใส่ใบแมงลัก ก็เป็นตำรับแกงเห็ดตับเต่าอีกตำรับหนึ่ง ส่วนผสม เห็ดตับเต่า ซี่โครงหมู หรือหมูบด ยอดเม่า เครื่องแกงมีพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม กะปิหยาบ เกลือ

แกงเห็ดถอบ

หมวดแกง
แกงเห็ดถอบ หรือ แกงเห็ดเผาะ เป็นแกงพื้นบ้านของทางภาคเหนือที่นิยมทำกันมาก เพราะมีรสชาติอร่อย กรอบ เครื่องปรุงประกอบด้วย เห็ดถอบ เนื้อหมูสามชั้น ยอดมะขาม พริกแห้ง กระเทียม หอมแดง กะปิ ปลาร้า เกลือ

แอ็บหมู

หมวดแอ็บ
แอ็บหมู คืออาหารที่ปรุงด้วยการนำเนื้อหมูสด นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับแอ็บอ่องออ แอ็บปลา ทำให้สุกโดยปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก มีส่วนผสมคือ หมูบดติดมันเล็กน้อย ใบมะกรูดซอย ผักชี ต้นหอมซอย ไข่ไก่ มีเครื่องปรุง คือ พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ขมิ้นหั่น ข่าหั่น กะปิ เกลือ

แอ็บอ่องออ

หมวดแอ็บ
แอ็บอ่องออ หรือแอ็บสมองหมู คือ อาหารที่ปรุงด้วยการนำสมองหมูสด นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับแอ็บหมู แอ็บปลา ทำให้สุกโดยปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก ส่วนผสมคือ สมองหมู ใบมะกรูดซอย ผักชีซอย ต้นหอมซอย มีเครื่องปรุง คือ พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ซอย ขมิ้นหั่น ข่าหั่น กะปิ เกลือ